rotate_90_degrees_ccw
กรุณาหมุนอุปกรณ์ของคุณไปยังแนวนอน
เพื่อการแสดงผลข้อมูลที่สมบูรณ์
สถานการณ์ประเทศไทยด้านกิจกรรมทางกาย

หน่วยงานในประเทศไทยที่มีพันธกิจโดยตรงต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้แก่ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน

ในส่วนนี้นำเสนอภาพรวมของประเทศเกี่ยวกับการลงทุน นโยบายของจังหวัด และสถานการณ์ด้านกิจกรรมทางกาย

งบประมาณด้านกิจกรรมทางกาย

งบประมาณส่งเสริมกิจกรรมทางกายในส่วนนี้รวบรวมมาจากข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้และสามารถแยกรายจังหวัดเพื่อเป็นตัวแทนข้อมูล คือ งบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และโครงการกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

งบปีล่าสุดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดของทุกจังหวัด
1,814,910,477 บาท
account_balance ค่าเฉลี่ยของทุกจังหวัด
24,525,817 บาท
person_outline ค่าเฉลี่ยต่อหัว
28.39 บาท
นโยบายที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นโยบายที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ นโยบายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัด เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา ทางเดิน ทางจักรยาน เป็นต้น และนโยบายเกี่ยวกับการสร้างโอกาสการมีกิจกรรมทางกายของคนในจังหวัด เช่น งานแข่งขันกีฬา กิจกรรมผู้สูงอายุ เป็นต้น

1 จังหวัด
มีนโยบายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดอย่างเดียว
25 จังหวัด
มีนโยบายเกี่ยวกับการสร้างโอกาสการมีกิจกรรมทางกายของคนในจังหวัดอย่างเดียว
44 จังหวัด
มีนโยบายทั้งสองด้าน
4 จังหวัด
ไม่มีนโยบายทั้งสองด้าน
จำนวนงานวิ่งต่อปี

ปัจจุบันกิจกรรมวิ่ง เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก จึงทำให้เกิดงานวิ่งระดับจังหวัดประจำปีมากมาย การจัดระยะทางเริ่มตั้งแต่ 1.5 กิโลเมตร ไปจนถึง 42 กิโลเมตร ถือเป็นโอกาสสำหรับของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย

จำนวนงานวิ่ง
1,315 งาน
account_balance ค่าเฉลี่ยของทุกจังหวัด
17 งาน
จำนวนผู้ใช้บริการสวนสาธารณะ

สวนสาธารณะเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมของการมาออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มาใช้บริการเพื่อเดิน วิ่ง ใช้เครื่องออกกำลังกาย และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ ทั่วประเทศไทยมีสวนสาธารณะจำนวน 584 สวน มีค่าเฉลี่ยผู้ใช้บริการสวนต่อวัน 698 คน

ค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ใช้งานสถานที่สาธารณะทุกจังหวัด
702 คนต่อสวนสาธารณะต่อวัน
ผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการขาดกิจกรรมทางกาย

หลักฐานทางวิชาการยืนยันแล้วว่าการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคเบาหวาน และโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ กิจกรรมทางกายยังช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก และช่่วยลดความเครียดและความซึมเศร้าทางอารมณ์

ผู้เสียชีวิตจากโรคที่ขาดกิจกรรมทางกายรวมทุกจังหวัด
153,229 คน
account_balance ค่าเฉลี่ยของทุกจังหวัด
1,990 คน
คิดเป็นสัดส่วนจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากทุกโรค
31.53 %
public ค่าเฉลี่ยทั่วโลก
30 %
ประชากรไทยที่ผ่านข้อแนะนำด้านกิจกรรมทางกายของ WHO

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชากรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ (หรือประมาณ 30 นาทีต่อวัน เกือบทุกวัน) เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ

สัดส่วนประชากรที่ผ่านเกณฑ์จาก WHO รวมทุกจังหวัด
37.70 %
public ค่าเฉลี่ยทั่วโลก
30 %
จำนวนนาทีของการมีกิจกรรมทางกาย

ถึงแม้ว่าค่าเฉลี่ยจำนวนนาทีการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ที่สากลแนะนำ แต่จำนวนนาทีนั้นแสดงให้เห็นถึง ความกระจุกของจำนวนนาทีในบางจังหวัดเท่านั้น ซึ่งการบ่งบอกถึงการประสบผลสำเร็จ ควรที่จะทำให้เกิดการกระจายของจำนวนนาทีการมีกิจกรรมทางกายให้มากขึ้นในทุก ๆ จังหวัดทั่วประเทศ

ค่าเฉลี่ยทุกจังหวัด
328 นาทีต่อสัปดาห์
public ค่าเฉลี่ยที่สากลแนะนำ
150 นาทีต่อสัปดาห์
คิดเป็นสัดส่วนจากหนึ่งวัน
1.57 %

ข้อมูลรายชื่อจังหวัด