rotate_90_degrees_ccw
กรุณาหมุนอุปกรณ์ของคุณไปยังแนวนอน
เพื่อการแสดงผลข้อมูลที่สมบูรณ์
Global Action Plan on Physical Activity
2018-2030 (GAPPA)

กับนโยบายประเทศไทย
4.1
3.6
3.5
3.4
3.3
3.2
3.1
2.5
2.4
2.3
2.2
2.1
1.4
1.3
1.2
1.1
4.5
4.4
4.3
4.2
GAPPA สำคัญ อย่างไร ?

แผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับโลก หรือ Global Action Plan on Physical Activity ชื่อย่อ GAPPA เป็นแผนนโยบายที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้น และผ่านการรับรองจากประเทศสมาชิกว่ามีความครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทของทุกประเทศต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

สาระสำคัญประกอบด้วย 4 เป้าหมายหลัก ผ่าน 20 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ร่วมผลักดันแผนฯนี้มาตลอดและได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการขับเคลื่อนแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับประเทศในปีเดียวกัน (พ.ศ.2561-2573)

เป้าหมาย
สร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
สร้างโอกาสต่อการมีกิจกรรมทางกายระดับบุคคล
สร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
นโยบายด้านกิจกรรมทางกายของประเทศไทยสอดคล้องกับนโยบายโลกแค่ไหน

ประเทศไทยได้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อให้ทัดเทียมประชาคมโลกในด้านกิจกรรมทางกาย ซึ่งมีหลายส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน

เป้าหมาย
สร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
สร้างโอกาสต่อการมีกิจกรรมทางกายระดับบุคคล
สร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
ความสอดคล้อง
แผนที่สอดคล้อง
แผนที่ไม่สอดคล้อง
เป้าหมายที่เราต้องพัฒนาต่อ...

การดำเนินการตามแผน GAPPA ในประเทศไทยได้ดำเนินการไปแล้ว 11 นโยบายจากทั้งหมด 20 นโยบาย ซึ่งยังมีส่วนของเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่สอดคล้องเหมือนกับด้านอื่น ๆ

ดังนั้นการให้ความสนใจและขับเคลื่อนแผนในด้านที่ยังขาด จึงเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อบรรลุต่อพันธสัญญาระดับโลก และเป้าหมายด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรไทย

สร้างบรรทัดฐานสังคมที่ไม่เนือยนิ่ง
1.2
ส่งเสริมความเข้าใจต่อหลักการผลประโยชน์ร่วม
1.3
สนับสนุนการจัดกิจกรรมมวลชนฟรีให้ประชาชนจำนวนมากได้มีกิจกรรมทางกาย
สร้างโอกาสต่อการมีกิจกรรมทางกายระดับบุคคล
3.5
จัดกิจกรรมทางกายเฉพาะสำหรับกลุ่มประชากรที่เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
2.1
บูรณาการนโยบายผังเมืองและการคมนาคม
2.2
พัฒนาเส้นทางเดินเท้าและพื้นที่ปั่นจักรยานอย่างครอบคลุม
2.3
เสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
2.4
ปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ
สร้างระบบที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
4.4
ขยายการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบาย
4.5
พัฒนาระบบนวัตกรรมทางการเงิน